หมวดหมู่: กิจกรรมลูกเสือ

แนวทางการแต่งกายชุดเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ประจำปีการศึกษา 2567

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอเรียนว่า ปัจจุบันสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงชุดเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ซึ่งอาจประกาศได้ทันในปีการศึกษา 2568 ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนกับผู้ปกครองนักเรียน ในเรื่องการแต่งกายชุดเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ประจำปีการศึกษา 2567 และถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีกฎกระทรวงรองรับ จึงขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งไปยังสถานศึกษาในสังกัดเพื่อทราบแนวทางการแต่งกายชุดเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี
ยุวกาชาด ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑. การแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามกฎกระทรวง ว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ ฉบับที่ ๑
พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกอบด้วย หมวก เสื้อ กางเกง/กระโปรง ผ้าผูกคอ เข็มขัด ถุงเท้า รองเท้า และเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบ ให้ใช้สำหรับงานพิธีเข้าประจำกองลูกเสือ งานพิธีของลูกเสือ หรืองานพิธีอื่น ๆ
ที่สถานศึกษาจังหวัด สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดขึ้น และในการฝึกอบรมหรืออยู่ค่ายพักแรม
๒. การแต่งเครื่องแบบลูกเสือสำรองและลูกเสือสามัญแบบลำลอง ตามกฎกระทรวง
ว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งประกอบด้วย เครื่องแบบนักเรียน ผ้าผูกคอ เครื่องหมายลูกเสือ ให้ใช้สำหรับการฝึกอบรม การอยู่ค่ายพักแรม เท่านั้น
๓. การแต่งเครื่องแบบลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และลูกเสือวิสามัญแบบลำลอง อนุโลมให้
แต่งเครื่องแบบตามกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๒๙
๔. การแต่งเครื่องแบบของสมาชิกยุวกาชาด ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด
ว่าด้วยเครื่องแบบยุวกาชาด ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๑ ใช้สำหรับการฝึกอบรม การอยู่ค่ายพักแรม งานพิธีของยุวกาชาด หากหมู่ยุวกาชาดโรงเรียนใดที่สมาชิกยุวกาชาดหญิงหรือชาย ไม่สามารถจัดหาเครื่องแบบได้
ให้ใช้เครื่องแบบนักเรียนประดับเครื่องหมายสมาชิกยุวกาชาดที่อกเสื้อด้านขวา สวมผ้าผูกคอและหมวก
ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาพิจารณาปรับรูปแบบกำหนดการแต่งเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี
และยุวกาชาด ตามข้อ ๑ – ๔ ได้ตามความเหมาะสม

โครงการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ สู่ศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิ๊ก

มาตรการกำชับการนำเด็กเข้าค่ายลูกเสือ หรือการปฏิบัติกิจกรรมลูกเสือทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินนโยบายในการสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา การจัดกิจกรรมนอกสถานศึกษา เพิ่มความเชื่อมั่นของสังคมและป้องกันภัยคุกคามในชีวิตทุกรูปแบบ โดยมีการดำเนินการตามแผนและมาตรการด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครู และบุคลากร ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเข้มข้น พร้อมทั้งการปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรมและองค์ความรู้ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์และไซเบอร์ อย่างสร้างสรรค์ ในการส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักรู้และจิตสำนึกในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาบทบาทและภารกิจด้านความปลอดภัของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอเรียนว่า ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 – เดือนกุมภาพันธ์ 2567 เป็นช่วงเวลาของการจัดการกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ของบุตรหลานของประชาชนผู้รับบริการจึงขอแจ้งเวียนมาตรการของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ทั้งนี้ ขอให้สถานศึกษาปฏิบัติตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วย การปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 โดยขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา คำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยของนักเรียนในการนำเด็กเข้าค่ายลูกเสือ หรือการปฏิบัติกิจกรรมลูกเสือทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาเป็นสำคัญ

ดาวน์โหลด มาตรการกำชับการนำเด็กเข้าค่ายลูกเสือ หรือการปฏิบัติกิจกรรมลูกเสือทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา

โครงการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือต้านภัยยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

โครงการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือต้านภัยยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ระหว่างวันที่ 2 – 5 สิงหาคม 2566
ณ ค่ายลูกเสือจังหวัดนครพนม(ค่ายลูกเสือภูเขาทอง) ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า 2565

นายพนัส บุญวัฒนสุนทร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน กรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ และนายเทพพนม ลีประโคน ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสดุดี วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ปี 2565 ณ บริเวณด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๖ สวนลุมพินี
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงมีต่อการศึกษาและกิจการ
ลูกเสือของประเทศไทย โดยมี คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นประธานในพิธี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดกิจกรรมลูกเสือดีเด่น และระดับดี

หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายในการพัฒนากิจการลูกเสือ
ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีต่องานลูกเสือ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักเรียนที่ส่งผลทางด้านคุณลักษณะพึงประสงค์ของเยาวชนไทยในอนาคต อีกทั้งพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดบทบาท หน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ต้องให้การส่งเสริม สนับสนุนกิจการลูกเสือ โดยในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.2551 ส่วนที่ 3 มาตราที่ 29 ให้มีคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ ส่วนที่ 4 มาตราที่ 35 ให้มีสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการบริหารงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา และมาตราที่ 36 ให้มีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธานกรรมการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน จึงจัดทำโครงการคัดเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดีเด่นในการจัดกิจกรรมลูกเสือ เพื่อให้ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการลูกเสือ ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เห็นความสำคัญในการจัดกิจกรรมลูกเสือ ตลอดจนเป็นขวัญกำลังใจให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ทุ่มเทเสียสละร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนางานลูกเสือให้เจริญก้าวหน้า
วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ตั้งใจพัฒนางานลูกเสือเป็นที่รู้จัก และได้รับ
    การยกย่อง ชมเชย
  2. เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและให้เกียรติแก่ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พร้อมทั้งข้าราชการในสังกัด ที่ทุ่มเทเสียสละในการพัฒนากิจการลูกเสือ
  3. เพื่อให้ทุกภาคส่วนของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ได้ระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ กำหนดหลักเกณฑ์
    และคัดเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดีเด่นในการจัดกิจกรรมลูกเสือ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดกิจกรรมลูกเสือดีเด่น และระดับดี

ดาวน์โหลดเกียรติบัตร

รายชื่อโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ ของ สพฐ.

หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายในการพัฒนากิจการลูกเสือ
ให้เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง เน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีต่องานลูกเสือ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักเรียนที่ส่งผลทางด้านคุณลักษณะพึงประสงค์ของเยาวชนไทยในอนาคต ซึ่งสถานศึกษาในสังกัด เป็นหน่วยงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายในการพัฒนากิจการลูกเสือในโรงเรียน โดยผู้บริหาร ครู – อาจารย์ นักเรียน และชุมชน จะเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลักดันกิจการลูกเสือให้เจริญก้าวหน้า สมดังเจตนารมณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย  
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน
จึงจัดทำโครงการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนลูกเสือในทุกระดับ ทุกโรงเรียน กิจกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของลูกเสือ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ และเป็นศูนย์ศึกษาดูงานของโรงเรียนต่าง ๆ ในด้านการจัดกิจกรรมลูกเสือ ในพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ โดยใช้กระบวนการลูกเสือ เสริมสร้างทักษะชีวิตของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ยึดมั่นประชาธิปไตย มีคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นไทยสร้างสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าสืบไป

วัตถุประสงค์ 

1.เพื่อให้ทุกภาคส่วนของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ได้สนับสนุนกิจการลูกเสือรวมทั้งส่งเสริมการบริหารจัดการ และการจัดกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน

2.เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและให้เกียรติแก่โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบลูกเสือของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3.เพื่อประกาศยกย่องชมเชยให้โรงเรียนที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนลูกเสือ กิจกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของลูกเสือ และเป็นศูนย์การเรียนรู้ ศึกษาดูงานของโรงเรียนต่าง ๆ ในด้านการ จัดกิจกรรมลูกเสือ ในพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ โดยใช้กระบวนการลูกเสือ

รายชื่อโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ ของ สพฐ.

การติดตามการพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการลูกเสือต้นแบบของ สพฐ. ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 26 – 30 กันยายน 2565

27-ก.ย.-65

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์ ปี 64 สพม. พิษณุโลก อุตรดิตถ์
โรงเรียนบ้านงิ้วงาม ปี 61 สพป. อุตรดิตถ์ เขต 1
28-ก.ย.-65

โรงเรียนวัดบ้านมุง ปี 61 สพป. พิษณุโลก เขต 2
โรงเรียนวัดวังยาง (ราษฎร์สามัคคี) ปี 64 สพป. พิษณุโลก เขต 2
29-ก.ย.-65

โรงเรียนอนุบาลสามง่าม ปี 64 สพป. พิจิตร เขต 1
โรงเรียนสรรเพชญอัฏฐมาพิทยาคม ปี 64 สพม. พิจิตร
30-ก.ย.-65

โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยา ปี 61 สพม. สุโขทัย
โรงเรียนบ้านเมืองเก่า “ศรีอินทราทิย์” ปี 64 สพป. สุโขทัย เขต 1

การติดตามการพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการลูกเสือต้นแบบของ สพฐ. ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 19 – 23 กันยายน 2565

20-ก.ย.-65

โรงเรียนบ้านม่าหนิก ปี 64 สพป. ภูเก็ต
โรงเรียนวิชิตสงคราม ปี 55 สพป. ภูเก็ต
21-ก.ย.-65

โรงเรียนทุ่งโพธิ์วิทยา สพม. พังงา ภูเก็ต ระนอง
โรงเรียนบ้านกะปง ปี ปี 61 สพป. พังงา
22-ก.ย.-65

โรงเรียนบ้านห้วยเสียด ปี 55 สพป. กระบี่
โรงเรียนบ้านไร่ใหญ่ ปี 58 สพป. กระบี่
23-ก.ย.-65

โรงเรียนบ้านช่องลม ปี 64 สพป. ตรัง เขต 2
โรงเรียนบ้านควรสวรรค์ ปี 61 สพป. ตรัง เขต 1

การติดตามการพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการลูกเสือต้นแบบของ สพฐ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ระหว่างวันที่ 13 – 16 กันยายน 2565

โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา1นครพนม สพม. นครพนม
โรงเรียนคำเตยอุปถัมภ์ ปี 55 สพม. นครพนม
โรงเรียนอนุบาลนครพนม ปี 58 สพป. นครพนม เขต 1
โรงเรียนหนองหลวงศึกษา ปี 55 สพม. สกลนคร
โรงเรียนบ้านยางคำ ปี 61 สพป. สกลนคร เขต 3
โรงเรียนบ้านขามป้อม ปี 58 สพป. มุกดาหาร
โรงเรียนมุกดาลัย ปี 55 สพป. มุกดาหาร
โรงเรียนบ้านโพนทัน ปี 64 สพป. ยโสธร เขต 1
โรงเรียนบ้านแคนน้อยหนองเลิง สพป. ยโสธร เขต 1
โรงเรียนบ้านมะพริกดู่โพนสิม ปี 61 สพป. ยโสธร เขต 1